วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นกกรงหัวจุก



ลักษณะนกกรงหัวจุกที่สวย
1.ปลายจุกโค้งไปข้างหน้าพองาม ปลายจุกต้องรวบเป็นปลายแหลมไม่แตก
2.ดวงตาเข้ม ดุดัน
3.ฐานจุกใหญ่ลาดชันขึ้นมาจากท้ายทอยไปจนถึงปลายจุกโดยที่ไม่สะดุดหรือมีรอยยัก
4.กระโหลกหัวใหญ่ได้รูป
5.แก้มแดงใต้ตาสีสด ใหญ่
6.ลำคอไม่สั้นหรือยาวเกินไป
7.หลังโค้งลาดเป็นเส้นต่อเนื่องตั้งแต่ปลายจุกถึงปลายหาง

8.ลำตัวไม่ป้อม หรือยาวไป
9.เกาะยืนยืดตัวตรงเกือบได้ฉาก
10.หางทิ้งตรงลงมาเก็บปลายหางเป็นเส้นเดียวหรือเส้นคู่ ปลายไม่แตกหรือกระดก ความยาวของหางต้องไม่สั้นหรือยาวไป
11.บัวก้นใหญ่ล้นออกมามีสีเส้มหรือแดงจัด(ปัจุบันบัวสีเข้มจัดของนกแข่งไม่มีแล้ว อาจจะเป็นได้ว่านกที่เลี้ยงอยู่ในกรงเลี้ยงเป็นเวลานานนกอาจจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนเหมือนกับนกที่อยู่ในธรรมชาติ)
12.นิ้วเท้าและเล็บมีสีเข้ม
13.แข้งไม่เล็กหรือใหญ่มีสีเข้มเกือบดำ เกล็ดที่ขาต้องขึ้นไม่มากเกินไป เวลาเกาะต้องยืนยืดกางขาพองาม
14.ปลายปีกเก็บเข้ารูปแนบกับลำตัวไม่ห้อยตก ขนของปีกเรียงเป็นระเบียบ
15.อกใหญ่โค้งนูนออกมาได้รูป
16.หมึกคอดำเข้มเกือบรอบ
17.คอพองใหญ่อยู่ตลอดเวลาตอนนกกำลังเล่น
18.ปากหนาใหญ่สีเข้ม
เรี่องความสวยงามของนกเป็นเรื่องของความรู้สึกมุมมองของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้าใครมีข้อคิดเห็นเป็นอย่างไรบ้างก็แสดงออกมาได้ครับ

โดย บ้านนา(พัทลุง) [30 มิ.ย. 2545 , 15:33:41 น.]
ขอเพิ่มเติมนะครับ
นกที่รูปร่างสวยกับนกลีลาสวยงามเป็นคนละส่วนนะครับ เพียงแต่ว่านกที่รูปร่างสวยเมื่อเล่นได้ลีลาที่สวยงามแล้วจะช่วยส่งเสริมนกตัวนั้นให้ผู้ที่พบเห็นแล้วประทับใจขึ้นไปอีกครับ
สังเกตุให้ดีกติกาการแข่งขันนกไม่ว่าแข่งแบบไหน(สากลหรือ4ยก)คะแนนนกที่สวยนั้นไม่มีครับ(ไม่มีช่องให้กรอก)มีแต่ช่องคะแนนลีลาเท่านั้น
นกที่เก่งแต่ไม่สวยราคานกจะต่างจากนกที่เก่งและสวยด้วยอย่างมาก ตรงจุดนี้เป็นข้อให้คิดนะครับ
และนกระดับดังๆทั้งหลายสังเกตุได้ว่าไม่ได้เก่งเพียงอย่างเดียวความสวยก็ไม่แพ้กัน
ส่วนตัวผมแล้วนกที่เก่งต้องสวยด้วยครับ เป็นเรื่องของจิตใจชอบมองอะไรที่สวยๆไว้ก่อน
ส่วนเรื่องลีลานกที่สวยขอไว้วันหลังครับ

โดย บ้านนา(พัทลุง) [1 ก.ค. 2545 , 00:17:06 น.]

จุดเริ่มทางสรีระนกปรอทหัวโขนเคราแดง
จากสูงสุดไปสู่จุดต่าง ที่พอจำได้ (ไม่ใช่วิชาฝังเข็มของหมอโฮจุน) นะครับ อิอิอิฮาๆๆๆๆ
1.ลักษณะโดยประเมิน นกร้องเสียงดี
2.คำว่านกสู้ กับ นกเพลง มีความหมายต่างกัน

1.1 ลักษณะรูปพรรณ ของนกร้องเสียงดี ต้องอาศัยส่วนต่างๆ ของนกเองเป็นส่วนประกอบ 6 อย่าง เช่น
- ส่วนของใบหน้า ,ส่วนจงอยปาก บน-ล่าง , ความสำคัญของลิ้น , โพรงจมูก ,กล่องเสียง ,ช่องว่างของส่วนท้องห่างกว่านกโดยทั่วไป
เราคงไม่สามารถขอยืมนกเสียงทองของใคร มาอ้าปาก แหกปากดูได้ เจ้าของคงไม่ยอม ฉะนั้น ตำราจากหนังสือคัมภีร์ นกกรงหัวจุก นี้อาจจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ใครจะไปรู้ละ
ในหลัก ที่กล่าวมา นกมีส่วนประกอบของใบหน้า ซึ่งนำมาพิจารณาได้ยาก แต่ต้องอาศัยความเป็นผู้ช่างสังเกต เก็บสะสมประสบการณ์ไปเรื่อย จึงจะพอประเมินคุณค่าในการดูรูปพรรณของนกในอนาคตได้ ค่อนข้างมั่นใจ 60-70เปอร์เซ็นต์ ของท่านผู้อ้างถึง ดังกล่าว รวมท่านอื่นๆ ซึ่งมีความรู้เข้าใจดีสอดคล้องกันเอา ท่านทั้งหลายที่เอ่ยไป ล้วนคลุกคลีในเรื่องนกมานาน
ท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า คุณสมบัติของนกเสียงที่ดี (เสียงดี)
1. ท่านให้ดูส่วนของใบหน้าและหัว ขนที่ใบหน้าตั้งแต่ขนอุย คือขนอ่อนถึงขนแก่หรือขนบนหัวเส้นใหญ่ๆ จะต้องลู่ตามกันเป็นระเบียบแนวเดียวดูราบเรียบเป็นระเบียบสวยงาม
2.ส่วนจงอยปาก นกเสียงดี ปากล่าง ปากบน จะประกบกันสนิท เพื่อไม่ให้เสียงแตกกระจายหรือเสียงพร่า เบาบาง เวลานกออกเสียงร้อง
3.ปากล่าง - ปากบน เพดานปากบนกล้างลึก เพดานปากล่าง (ด้านใน) ลักษณะรูปแบนๆข้างๆ จะมีร่องลงสองข้างเล็ก เวลาปล่อยลมเพดานลิ้นกระดกออกมา เป็นระยะๆ เพดานปากบนเปิดร่องจมูก รีดเสียงแง้มปากล่างพอประมาณ ปล่อยลงเสียงอันดัง ออกมาก้องกังวานสู่ภายนอก
4.นกกรงเสียงดี ความสำคัญของลิ้น ให้ดูที่ปลายลิ้น ปลายลิ้นค่อนข้างบาง มนไม่สั้น ไม่ยาว ทิศทางของเสียงต่างๆจึงสำคัญอยู่ที่ปลายลิ้น เสียง เอื้น สูงๆ ต่ำๆ หรือร้องแบบรีดเสียงเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับลิ้นทั้งสิ้น
5.โพรงจมูก ความสำคัญของโพรงจมูก รูจมูก นกเสียงดี จะเปิดกว้างนิดๆ แต่ไม่กล้างเกินไป ผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตเองคอยดูบ่อยๆ นกมีอาการปรกติดีอยู่ อย่าให้มีน้ำมูก(เป็นหวัด)ได้ นกจะๆไม่มีเสียงที่ดี ต้องรีบรักษาโดยด่วน ก่อนจะลุกลาม จนเสียงแหบแห้ง
6.ความสำคัญของกล่องเสียง หรือกล่องลมที่พักลม ถุงลม ท่านผู้รู้บรรยายว่า ให้ดูที่คอ โดยมองจากภายนอกเอา ดูว่า คอค่อนข้างใหญ่กว่านกร้องเสียงเบา (หมายถึงนกที่ร้องออกเสียง) ดังได้ไม่ไกลมาก แต่ไม่ได้หมายความว่านกร้องเบาๆ(บ่น) นั่นคนละอย่างกัน
7.นกที่ร้องออกมาเต็มที่ กับร้องเบาๆ แล้วแต่กิริยาของอาการร้อง นั้น นกเปร่งเสียงเต็มที่แล้ว ยังฟังดูว่าเบาอยุ่ ให้เข้าใจว่า นกนั้นร้องเสียงเบา แต่ถ้าความเบา นั้น ร้องได้เป็นเพลง เป็นสำนวน ฟังแล้วไพเราะดี ให้ย้อนกลับไปดูที่ ข้อความที่กล่าวมาข้างต้น
8.ส่วนสำคัญของท้องนก ท้องนกจะทำหน้าที่เก็บอหารย่อยอาหารแล้ว ยังทำประโยชน์ในด้านขยายในรูปถุงลมแบบหยืดหย่อนได้ขณะที่นกต้องการลมมากๆ ท้องจะทำหน้าที่ขยายและเป็นที่รัดลม ส่งไปที่พักลมคือที่คอนก หรือเรียกกล่องลม
ความสำคัญของกลไกเหล่านี้ จะทำหน้าที่สานสัมพันธ์กัน เป็นขั้นเป็นตอนสลับซับซ้อน แบ่งหน้าที่ทำคนละส่วน พอถึงเวลาต้องการลม จะทำหน้าที่ของมันเองโดยอัตโนมัติ
ในรูปพรรณสันฐานของนกเสียงดี คุณสมบัติเด่นๆ ที่สำคัญประเภทกลุ่มนกเสียงดี ตามที่กล่าวมานั้น เป็นองคืประกอบในการเรียนรู้ ด้านเบสิคพื้นฐาน ที่จะนำไปสู่แนวทางค้นคว้าด้านอื่นๆ ต่อไป การแสวงหาของนักค้นคว้า คว้าดาว จะยังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้ ผู้เขียนเองก็ยังค้เนคว้า คว้าดาวต่อไป เพิ่มเติมอีก นอกเหนือจากส่วนที่กล่าวมาทั้งหมด
คำว่านกสู้ กับนกเพลง ความหมายต่างกัน คำว่านกสู้ไม่ได้หมายความว่านกตัวนั้นๆ จะเป็นนกเสียงดีเหสมอไป เป็นแต่เพียงนกมีอึปนิสัย ออกไปทางนกเกเร(หมายถึงถ้าเป็นคนก็คนเกเรหรือนักเลงนั่นเอง) ในความเป็นจริงนกชนิดนี้มีนิสัย ซุกซน จอมเกเร ชอบใช้อารมย์ จิกตีกัน ชนกัน แต่ถ้าจะมองแบบน้รักๆ ก็ดูเป็นกีฬาตามภาษาแบบของนกๆ ไป ดูดีน่ารักไปอีกแบบ
นกสู้หมายถึง เป็นกลุ่มประเภทนกที่มีความห้าวหาญ แบบบ้าระห่ำ คือคะนอง หังเอาชนะคู่ต่อสุ้อย่างเดียวไม่พึงประสงค์ จะร่วมวงสนทนา เสวนะโต๊ะกลมกับศัตรูหรือฝ่ายตรงข้าม ผลความดีด้านเสียงร้องที่ไพเราะ จึงมีในกลุ่มนกประเภทนี้ไม่มากนัก แต่ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย เสียงร้องกลุ่มนกชนิดนี้ มักจะส่งเสียงดัง แกนเสียงฟังหยาบก้าน เสียงจะกราดเกี้ยว ออกเสียงตะหวาด ความไพเราะนุ่มนวลจึงมีน้อย
ลักษณะทั่วไป เรามักได้ยินคำว่า (นกดุ) มีจุดดเด่นเป็นที่สังเกตอันหนึ่ง คือให้สังเกตดูที่จุกบนหัวค่อนข้างจะยาว และตั้งชี้ตรงปลายโค้งไปข้างหน้าอย่างเห็นได้ชัด มีกิริยา แบบในตาดูแบบเหยี่ยว และ คมใสแวววาว
อีกตำรากล่าวไว้ว่า นกดุ มีลีลา ชอบเต้นไปมา ตีลังกาบ่อยๆ บางคนเข้าใจว่าเป็นนกนิสัยไม่ดี ไม่นิยมเลี้ยงกัน นกที่มีกิริยาแบบนี้ บางท่านกล่าวว่า น่าจะมาจากความดุของนก มากกว่าจะมาจากสาเหตุอื่น อย่างบางท่านเข้าใจกัน "คำพังเพยที่ว่า " ทำอะไรเค้าไม่ได้ ก้เต้นแล้งเต้นกา (อันนี้ความคิดของผมเอง

ตำราไก่ชน



การชนไก่ หรือ ตีไก่ คือ การที่ไก่ตัวผู้สองตัวมาต่อสู้กันจนแพ้กัน การชนไก่เริ่มมีมาตั้งแต่ยุคสมัยใดนั้นไม่สามารถสันนิษฐานได้ แต่มีผู้สันทัดกรณีบางท่านสันนิษฐานว่า แหล่งกำเนิดน่าอยู่ในทวีป เอเชียเพราะประเทศต่าง ๆ ในเอเซียนิยมเล่นไก่กันอย่างแพร่หลาย เช่น ไทย ลาว พม่า เขมร เวียดนาม จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดเนียเซีย เป็นต้น อีกทั้งการพบรูปสลักหินแสดงการชนไก่ที่ปราสาทหินนครวัดในประเทศกัมพูชาที่มี อายุเก่าแก่มากกว่าพันปี แสดงว่าการชนไก่มีมานานแล้ว ไก่จนที่แท้จริงต้องเป็นไก่ที่สืบเชื้อสายมาจากไก่อู ซึ่งมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย และไก่อูนี้เป็นเชื้อสายของไก่พันธุ์พื้นเมืองที่มีเชื้อสายมาจากไก่ป่า ไก่อูเป็นไก่ที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น รูปร่างสง่า ปราดเปรียวว่องไว โครงกระดูกใหญ่แข็งแรง เนื้อแน่น นิสัยดุร้าย หากินเก่ง และ ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไก่ชนิดนี้จะตรงกับตำราว่า ” อกชั้น บั้นชิด หงอนปิด ( หงอนหิน ) ปากร่อง ” ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยลักษณะไก่ชนที่ดี และต้องเป็นสีประจำพันธุ์ดั้งเดิม คือ สีประดู่หางขาว สีเขียวปีกแมลงภู่และสีเหลืองเท่านั้น

การเล่นไก่ขนของคนภาคเหนือส่วนใหญ่ใช้ไก่อายุประมาณ ๑๑ เดือนขึ้นไป ถ้าอายุไก่อ่อนกว่านั้นขนไก่ก็ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่นัก มักมีขนบั่วออก ( ขนบั่ว - ขนออกใหม่ เป็นหนามแหลม ) หากนำไก่ไปชนในช่วงนี้ไก่มักไม่ค่อยสู้เต็มที่เพราะเจ็บขน ไก่ชนของภาคเหนือจะมีการชนบ่อยครั้ง ปีหนึ่ง อาจชนถึง ๕ - ๖ ครั้ง ในขณะที่ภาคกลางปีหนึ่งอาจชนแค่ ๒ - ๓ ครั้งเท่านั้น การนำไก่ชนบ่อยเกินไปทำให้ไก่ไม่ค่อยสมบูรณ์แข็งแรงเต็มที่ เนื่องจากมีเวลาพักฟื้นสภาพร่างกายน้อยเกินไป



ลักษณะไก่ชนที่ดี
นักเลงไก่ชนจะเริ่มดูลักษณะไก่ว่าตัวไหนจะดีหรือเลว โดยดูตั้งแต่ไก่อายุประมาณ ๔ - ๖ เดือน ขึ้นไปซึ่งพิจารณาจากส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกาย ดังต่อไปนี้

๑ . ลำตัว ไก่ ชนที่ดีลำตัวต้องยาวแบบ “ ไก่สองท่อน ” หมายถึง ช่วงตัวไก่หากใช้มือทั้งสองจับรวบรอบลำตัวให้ปลายนิ้วชี้ทั้งสองชนร่องอกไก่ ส่วนหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนหลังไก่ ตั้งแต่ไหล่จนถึงก้นจับรวมได้ ๒ ครั้ง น้ำหนักไก่ชนเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน ๓ กิโลกรัม ไม่อ้วนไม่ผอมเกินไป สูงเปรียว โครงสร้างกระดูกใหญ่ อกกลมมน หลังแบนหน้าหนา ยืนอกชัน ท่าทางองอาจ จึงจะเป็นไก่ชน “ หงส์ ” ที่ถือว่าสง่างามเป็นเลิศ

๒ . สีหนัง สีของหนังไก่เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณา คัดเลือกไก่ชนเพราะแสดงถึงความสมบรูณ์ และลักษณะนิสัยของไก่ได้ ดังนี้

๒.๑ หนังหนาสีแดง เป็นไก่ที่มีพละกำลังมาก ทรหด อดทน เมื่อนำไปชนจะแข็งแรงและสมบุกสมบันมาก

๒.๒ หนังเหลือง เป็นประเภทไก่หนังบาง เปราะบาง ไม่สมบุกสมบัน ไม่เหมาะที่จะคัดเป็นไก่ชน

๒.๓ หนังสีขาว เป็นไก่ประเภทไม่สู้ไก่ในใจไม่ทรหดอดทน ซูบผอมง่าย ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงเป็นไก่ชน

๒.๔ ไก่หนังดำ ค่อนข้างหายาก จัดเป็นไก่ประเภทพิเศษ สามารถเลี้ยงไว้เป็นไก่ชนได้

๓ . หงอนไก่ ชนที่ดีหงอนต้องหนาเล็ก ฐานแน่บแบบหงอนหิน ( ลักษณะเป็นก้อนกลมยาวรีเล็ก ๆ บนหัวไก่ ) เพราะหงอนเล็กจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหว และไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวและไม่เป็นเป้าในการจิกตีของคู่ต่อสู้ หงอนที่เลว คือหงอนหยัก ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นแผ่นบาง หยักบาง จะทำให้คู่ต่อสู้จิกตีได้ง่าย

๔ . เหนียงและตุ้มหู ไก่ชนพันธุ์แท้จะไม่มีเหนียงและตุ้มหูเลย เนื่องจากเหนียงตุ้มหูเป็นจุดอ่อนที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะคู่ต่อสู้มักจิกตีจุดเหล่านี้ หากถูกตีมาก ๆ จะทำให้เลือดคั่งบวมโต ดังนั้นไก่ชนที่ดีต้องไม่มีเหนียงและตุ้มหู หากมีก็ต้องมีขนาดเล็กและสั้นจึงจะใช้ได้

๕ . หัว หัวกะโหลกไก่ชนที่ดีจะมีรอยรัดเข้าไปหาต้นคอ ท้ายทอยต้องไม่มีขนขึ้น เรียกว่า “ รอยไขหัว ” เป็นที่เจาะกรีดเอาเลือดที่คั่งบริเวณหัวออกทิ้ง

๖ . ปาก ไก่ชนต้องมีปากสั้นหนา โคนปากอวบสัดส่วน สมดุลกับหัว ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ปากบนและล่างต้องยาวเท่ากันมีความหนาแน่น แข็งแรง เป็นร่องคล้ายปากนกแก้ว ตำราไก่ชนถือว่าสีของปากไก่ต้องเป็นสีเดียวกันสีของเกล็ดแข้ง ยิ่งตาเป็นสีเดียวกันอีกยิ่งดี ถือว่าเป็นไก่ชนที่ดีเยี่ยม

๗ . รูจมูก รูจมูกไก่อยู่บริเวณโคนปากตอนบนทั้งซ้ายและขวาข้างละรู ไก่ชนที่ดีต้องมีรูจมูกกว้างใหญ่ หายใจสะดวกเวลาเหนื่อยจะไม่หอบเพราะจมูกกว้างหายใจได้สะดวก

๘ . ไก่ชนที่ดี ดวงตาต้องแจ่มใสมีน้ำหล่อเลี้ยงเป็นตาประเภทตาปลาหมอตาย สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแก่ ตาคว่ำและลึกจมอยู่ในเบ้าตา ซึ่งเป็นตาไก่ที่ฉลาด อดทน ดุร้าย อีกประเภทหนึ่ง คือตาลอย มีลักษณะกลมใส กลอกกลิ้ง ล่อกแล่กตลอดเวลา เป็นลักษณะตาไก่ที่ฉลาดมีไหวพริบ ชั้นเชิงดีทรหดอดทน ส่วนตาสีอื่น ๆ เช่น สีแดง ฟ้า น้ำตาล ลายและสีขุ่น มักเป็นสีตาไก่ที่ใจเสาะ ไม่ดี ไม่มีน้ำอดน้ำทน ไม่ควรเลือกไว้ชน ถ้าจะให้ดีสีตาต้องเป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดแข้งและเดือย จะเป็นการดีมาก

๙ . คางและคอ ไก่ชนต้องมีคางซึ่งคางซึ่งจัดว่ามีลักษณะดี ๓ แบบ คือ คางรัด คางเหลี่ยม และคางกลม คอไก่ชนที่ดีต้องยาวและใหญ่ หากเป็นคอโกลน คือซอกคอด้านล่างโล้น จนเห็นหนังแดงๆ ไม่มีขนสร้อยเลยยิ่งดี จัดเป็นไก่ที่มีชั้นเชิง ตีประชิดตัวดีมาก

๑๐ . สีขนสร้อย โดยปกติมักเรียกไก่ตามสีขนสร้อยของมัน เช่น เหลือง เขียว ประดู่ ทองแดง หม่น ( เทา ) เลาและลาย เป็นต้น สร้อย คือขนละเอียดปลายแหลมสีต่าง ๆ จะปกคลุมด้านบนเป็นขนรอง สร้อยขนที่คอเรียก “ สร้อยคอ ” ที่ปีกเรียก ” สร้อยปีก ” ส่วนที่ปกตั้งแต่หลังโคนหางเรียก “ สร้อยหลัง ” ไก่ชนจะต้องมีสีขนสร้อยทั้งตัวเป็นสีเดียวกัน อาทิ หากสร้อยคอสีเหลืองสร้อยปีกและหลังก็ต้องเป็นสีเหลืองเหมือนกัน ทั้งนี้อาจเรียกสีหางเพิ่มไปด้วย เช่น เหลืองหางขาว เหลืองหางดอก เหลือหางดำ เป็นต้น


๑๑ . อก อกไก่ชนต้องกว้างใหญ่และค่อย ๆ เรียวลงอย่างได้สัดส่วน กล้ามเนื้อนูน เวลายืนอด ( อกชัน ) ดูเป็นสง่า อีกแบบหนึ่ง คือจะมีลักษณะกลมรี แต่ไม่ยาวเท่าใด

๑๒ . ช่องท้อง ช่องท้องเป็นช่วงระหว่างกระดูกกอไก่กับรูทวาร ซึ่งจะมีเฉพาะเนื้อและหนังเท่านั้นไก่ชนที่ดีช่องท้องต้องเล็กและแคบ

๑๓ . ตะเกียบก้น เป็นปุ่มกระดูกแข็ง ๒ ปุ่ม อยู่ก้นบริเวณทวารหนัก ไก่ชนดีตะเกียบต้องแข็งและอยู่บริเวณทวารหนัก ไก่ชนดีตะเกียบต้องแข็งและอยู่ชิดกัน ยิ่งชิดมากยิ่งดี ตามตำราไก่ชนชาวเหนือ เรียกว่า “ ไก่ฮูขี้ตั๋น ” เป็นไก่ชนที่ว่องไวและตีเร็ว

๑๔. หาง นักชนไก่นิยมไก่มีหางแบบแข็งเป็นกำใหญ่ ( ภาคกลางเรียก “ หางกระบอก ”) นอกจากนี้อาจเป็นแบบหางพุ่ม ส่วนหางยาวโค้งมักไม่นิยมเพราะไก่ชนมักเหยียบหางตัวเองทำให้เสียหลัก เวลาชนไก่จะเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว

๑๕ . ปีกและขน ขน ไก่ที่จัดว่างามต้องละเอียด หนา แห้ง แข็งเป็นมันและปลายแหลม ส่วนขนปีกต้องหนาใหญ่และยาว ในการนำไก่ไปชน เจ้าของต้องดูความสมบูรณ์ของขนด้วย คือไก่ ต้องไม่อยู่ในระยะถ่ายขน ( สลัดขนเก่าหลุดไป ขนใหม่จะงอกขึ้น ) ไก่ถ่ายขนนี้ปล่อยให้ชนยังไม่ได้ เพราะขนยังไม่สมบูรณ์พร้อม อาจแสดงชั้นเชิงตีไม่ได้เต็มที่ วิธีสังเกต คือถ้าหงายปีกดูตรงโคนขนปีกแต่ละเส้น หากมีรอยปลอกสีขาวโผล่เคลื่อนออกมา ก็แสดงว่าไก่กำลังถ่ายขน

๑๖ . แข้ง แข้งไก่มี ๕ ประเภท คือ

๑ . แข้งเรียวหวายมีลักษณะกลมเล็กเหมือนเส้นหวาย โดยจะกลมตั้งแต่ข้อเข่าและจะค่อย ๆ เรียวใหญ่ขึ้นจนจรดโคนนิ้ว เป็นแข้งที่ตีได้เจ็บปวดและแม่นมาก

๒ . แข้งกลมใหญ่และแข้งเหลี่ยมใหญ่ ไก่ตัวโต มักมีแข้งใหญ่แต่ไก่ตีช้า มักตีตามลำตัว ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไก่แข้งเล็ก

๓ . แข้งคัด คือแข้งแบบเหลี่ยมเล็ก เป็นที่นิยมพอสมควร

๔ . แข้งแข็งสั้น เป็นลักษณะแข้งที่ตีดีเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องสังเกตดูสัดส่วนของช่วงขากับ ลำแข้งซึ่งต้องยาวได้สัดส่วนกัน ถ้าลำแข้งสั้นกว่าปั้นขามากก็ไม่ค่อยแม่น

๑๗ . เกล็ด ไก่ชนโดยทั่วๆ ไปมักมีเกล็ดแข้งแบบธรรมดา ซึ่งมีลักษณะเป็น ๒ แถว หรือ ๓ แถว อาจเรียงเป็นระเบียบก็ได้ แต่ที่นักเลงไก่ชนให้ความสนใจมากเพราะเป็นเกล็ดพิเศษ ถือว่าเป็นเกล็ดไก่ชนที่ดีมาก คือ เกล็ดปอบ ( ปลอก ) ภาคกลางเรียก “ เกล็ดกำไล ” จะมีลักษณะเป็นเกล็ดเดียว ( คล้ายเกล็ดที่นิ้ว ) เรียงกันเต็มแข้ง เกล็ด พร้าวพันลำ ( ภาคกลางเรียก เกล็ดพันลำ ) เป็นเกล็ดเดียวเฉียงเรียงเต็มแข้ง สิ่งที่สำคัญก็คือสีของเกล็ดต้องเหมือนสีปาก ตา ขน เล็บ และเดือย จึงจะเป็นไก่ชนที่ดีเยี่ยม

๑๘ . เดือย ภาษาถิ่นเรียกว่า เดือ เดือยไก่ที่ดีต้องแข็งและแหลมเป็นอาวุธประจำตัวของไก่ชนที่สำคัญคือ ถ้าแทงถูกจุดสำคัญอาจทำให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บ และไม่ยอมสู้เดือยไก่ชนมี ๗ ลักษณะ ดังนี้

๑ . เดือยเข็ม มีขนาดเล็ก ยาวและปลายแหลม เป็นเดือยที่แทงได้แม่นยำเจ็บปวด แต่หักง่าย

๒ . เดือยขนเม่น มีลักษณะกลม ก้านเดือยกลมคล้ายขนแม่น ปลายแหลมคม และตรงเฉียงลงเล็กน้อยเป็นเดือยไก่ชนที่ดีมาก จัดเป็นไก่แทงจัด ขนาดเดือยมักจะเท่ากับนิ้วไก่

๓ . เดือยงาช้าง มีลักษณะกลมค่อนข้างแบนเล็กน้อย ปลายแหลม งอนขึ้นคล้ายงาช้าง มั่นคงแข็งแรงมาก

๔ เดือยคัด โคนใหญ่และสั้นปลายแหลมคม แข็งแรงและทนมากแต่แทงได้ไม่ลึก

๕ . เดือยแฝด เป็นเดือยที่งอกซ้อนกันมากกว่า ๒ อัน หากยาวและได้สัดส่วนจัดเป็นเดือยที่อันตรายมากเพราะหากเดือยแทงเกิดบาดแผลฉกรรจ์

๖ . เดือยขวาน เป็นเดือยแบนหนาเทอะทะ ปลายบานออกคล้ายคมขวาน เป็นเดือยที่ไม่ดี

๗ . เดือยคุด เป็นเพียงปุ่มกระดูก ไม่มีคม ไม่มีประโยชน์ เดือยไก่ชนที่ดี ควรมีสีเดียวกับสีตัว ปาก เกล็ด แข้ง เล็บ และตา และความยาวเดือยต้องยาวเกินครึ่งนิ้วจึงถือว่าดี

๑๙ . นิ้ว เกล็ด นิ้ว และเล็บ นิ้วไก่จะมี ๔ นิ้ว ด้านหน้าสามนิ้ว และด้านหลังเฉียง ๆ มีนิ้วก้อย นิ้วไก่ชนที่ดีมักจะนิ้วสั้นใหญ่ เพราะไก่ที่มีลำหักโค่นดี แข็งแรง และตีได้รุนแรงมาก ส่วนนิ้วเล็กยาว ตีไม่ค่อยหนักแน่นเด็ดขาด แต่ถ้าถูกจุดสำคัญก็สร้างความเจ็บปวดพอสมควร การพิจารณานิ้วไก่ต้องดูเกล็ดนิ้วควบคู่ไปด้วย เกล็ดไก่ชนต้องมีเกล็ดหลักร่องลึกชัดเจน หากมีเกล็ดแซมกลางนิ้วหรือที่เรียกว่า “ เกล็ดแตก ” ที่นิ้วกลางของไก่ชนยิ่งดี ถือว่าเป็นไก่ชนชั้นเชิงแพรวพราว ขนดีอีกทั้งต้องมีการนับดูเกล็ด ที่นิ้วกลางตั้งแต่เกล็ดแรกของโคนนิ้วไปจรดเกล็ดสุดท้ายโคนเล็บ ต้องมีจำนวนคี่ ๑๗ หรือ ๑๙ เกล็ดจึงถือว่าดี สีเกล็ดต้องเป็นสีเดียวกับสีขน ปาก แข้ง เดือย ตาและเล็บ จึงถือว่างาม

๒๐ . อุ้งเท้า อุ้งเท้าไก่ชนที่ดีจะต้องแฟบ และบุ๋มเข้าไปเพราะจะทำให้ไก่สามารถเดินและกระโดดตีได้ถนัด

การเลี้ยงดูไก่ชน

๑ . การดูแลสุขภาพ โดยปกติก่อนที่ไก่ชนจะโตเต็มวัย เมื่ออายุได้ประมาณ ๖ เดือน เจ้าของจะต้องเอาออก ชาม ( อ่าน ” จาม ”) หมายถึงการฝึกชนหรือซ้อมชน เพื่อทดสอบดูลีลาชั้นเชิงของไก่ ส่วนใหญ่จะชนไม่เกิน ๓ ยก ทั้งนี้เจ้าของต้องการดูว่าไก่ดีด ( ตี ) หนักเบาเพียงใดแทงแม่นยำหรือไม่ และไก่ชั้นเชิงของไก่ประเภทไหน ก่อนที่ไก่จะโตและนำออกสู่สังเวียนจะต้องผ่านการ ชาม ๒ - ๓ ครั้ง

กรณีที่ไก่ชนสมบรูณ์แข็งแรงและเจริญเติบโตเต็มวัยชนแล้วเจ้าของจะเพิ่มความดูแล เอาใจใส่เป็นพิเศษเรื่องสุขภาพร่างกาย โดยจะเอาไก่ชนออกกำลังกายทุกเช้า ( บางแห่งก็ให้ไก่ออกกำลังกายเช้า - เย็น ) ในการฟิตร่างกายไก่ทำได้ ๒ วิธี ( ภาคเหนือ ) คือ

การล่อ คือการอุ้มไก่ตัวผู้อีกตัวหนึ่งมาล่อ โดยต้องยกไก่ล่อให้อยู่ในระดับสูงกว่าไก่ชน ให้ไก่ชนกระโดดจิกและตี บางทีก็ล่อให้ไก่ชนวิ่งไล่ตามเป็นการออกกำลังขาไปโดยไม่รู้ตัว

การเวียน เป็นการเอาไก่ตัวหนึ่งขังไว้ในกุ่ม ( สุ่มไก่ ) แล้วปล่อยให้ไก่ชนวิ่งไปมารอบๆ กุ่มหาทางเข้าไปตีไก่ตัวที่อยู่ในกุ่มนั้น แต่เจ้าของต้องคอยดูไม่ให้ไก่จิกลอดตาสุ่ม เพราะอาจทำให้ปากไก่ได้รับบาดเจ็บ หลังจากที่ออก กำลังแล้ว จะนำไก่ไปอาบน้ำ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นพอเปียก แล้วเช็ดตามบริเวณสำคัญๆ ของไก่ หัวลำคอ ใต้ปีก สีข้าง หน้าอก ขา แข้ง และเดือย เสร็จแล้วก็เอาไก่ขังสุ่มให้ไก่ผิงแดดสักประมาณครึ่งชั่วโมงให้ขนแห้งแล้ว เอาข้าวเปลือกให้กิน

๒ . อาหารบำรุงไก่ชน ข้าวที่ให้ไก่กินจะต้องเป็นข้าวขัด คือข้าวเปลือกที่ใช้ใบตะไคร้ขยี้คั้นกับเม็ดข้าวจนหมด คาย ( อ่าน ” กาย ” คือละอองฝุ่นที่ติดบนเม็ดข้าวเปลือก หากถูกผิวหนังมาก ๆ จะเกิดอาการระคายเคือง ) ข้าวเปลือกจะมีกลิ่นหอมตะไคร้ จากนั้นก็เอาไข่ไก่คลุกเคล้ากับข้าวขัดแล้วตากแดดให้แห้งและเก็บใส่ภาชนะไว้ ให้ไก่ชนกิน นอกจากนี้ก็มีอาหารบำรุงสูตรพิเศษ เนื้อแช่น้ำผึ้งและกล้วยแช่น้ำผึ้ง วิธีทำก็คือ เอากล้วยน้ำว้าสุกหรือเนื้อหมูมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ ๑ นิ้ว แล้วเอาใส่กระปุกเติมน้ำผึ้งลงไปหมักพอให้น้ำผึ้งท่วมเนื้อ ปิดฝากระปุกไว้สัก ๓ วัน จากนั้นก็เอาให้ไก่ชนกินวันละประมาณ ๒ - ๓ ชิ้น บางครั้งไก่ชนมักเป็นพยาธิ ประเภทพยาธิปากขอ นักเลงไก่ชนมักจะทำยาสมุนไพรถ่ายพยาธิไว้ให้ไก่กิน โดยจะตำเมล็ดหมากผสมกะปิเล็กน้อย แล้วปั้นเป็นลูกกลอนเม็ดเล็ก และนำไปตากแห้งสนิท ให้ไก่กินครั้งละเม็ด เช้า – เย็น ประมาณ ๓ วัน นอกจากนี้ในแต่ละวันเจ้าของไก่จะต้องหาใบผักสด เช่น ผักกาด ผักบุ้ง ผักกระถิน หรือ หญ้ามีขนให้ไก่กินเพื่อไก่ได้รับแร่ธาตุและวิตามินเพิ่มขึ้น

๓ . ที่พักอาศัย ตามธรรมดาไก่เลี้ยงทั่วไปเจ้าของ มักปล่อยให้นอนตามต้นไม้ หรือใต้ถุนบ้านแต่ไก่ชนนี้เจ้าของจะดูแลเป็นพิเศษ โดยจะทำเล้าไก่ลักษณะตูบหมาแหงนมุงด้วยหญ้าคา หรือสังกะสี คุ้มแดดคุ้มฝนให้ไก่นอน บางทีก็อาจใช้ไม้ไผ่ตีเป็นแผงระแนงรอบ ๆ เล้า เพื่อป้องกันสุนัขหรือแมวเข้าไปรบกวนไก่ และทำประตูเปิด - ปิดไว้ ภายในเล้าไก่จะมีรางน้ำ รางข้าวและกระป๋องใส่กรวดทรายไว้ให้ไก่ บางรายกรณีที่เป็นช่วงเก็บตัวพร้อมที่จะเอาไก่ไปชน เจ้าของอาจเอาสุ่มครอบไก่ชน แล้วเอามุ้งมาคลุมสุ่มไก่ เพื่อป้องกันยุงและริ้นไรเข้าไปรบกวนไก่ตอนกลางคืน ให้ไก่ได้หลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ไก่จะได้กระปรี้กระเปร่าและมีสุขภาพจิตที่ ดี



การเปรียบไก่และการเดิมพัน
การเปรียบ คือการหาคู่ชน ซึ่งเจ้าของไก่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะการจับคู่ชนก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกัน ซึ่งส่งผลกระทบถึงการแพ้ชนะได้ การเปรียบไก่ชนนี้ เจ้าของไก่แต่ละฝ่ายจะแลกกันจับดูไก่ โดยจะใช้มือรวบตัวเพื่อกะขนาดลำตัวและน้ำหนัก อีกทั้งพิจารณาดูรายละเอียดต่าง ๆ ของไก่แต่ละฝ่าย เช่น ความสูง ความกว้างของแผ่นหลัง ความหนาของอก ปั้นขา ตลอดจนความยาวของช่วงขา ช่วงตัว ความใหญ่ของลำคอ และความยาวความแหลมของเดือย หากดูแล้วไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันมาก เจ้าของไก่ต่างพึงพอใจทั้งสองฝ่าย ก็จะตกลงกันเรื่องเงินเดิมพัน ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความเก่งของไก่ อาจจะตั้งแต่ ๕๐๐ บาทขึ้นไป จนถึงหลักแสน ถ้าตกลงหลักแสน ถ้าตกลงกันได้ก็จะจับคู่ชนกันเลย

กติกาในการชนไก่
บ่อนชนไก่ จะประกอบด้วยวงเสวียนหรือเวียน สูงประมาณครึ่งเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔ - ๕ เมตร มีนายบ่อนหรือเจ้าของบ่อนเป็นผู้ดูแลและดำเนินการ นอกจากนี้จะต้องมีคนคอยจับเวลาในการชนไก่ สมัยก่อนเรียก “ คนเฝ้าอาน ” หรือ “ คนตีเหล็ก ( กะหล็ก หมายถึง เกราะซึ่งทำจากปล้องไม้ไผ่สีสุกเจาะข้างเวลาตีเสียงดังโป๊กโป๊ก ) คนเฝ้าอานจะทำหน้าที่จับเวลาขณะชนไก่และการพักยกให้น้ำไก่ โดยต้องคอยมองดูอาน ซึ่งทำจากขันน้ำเจาะรูเล็กเท่ารูเข็มที่ก้นขัน เมื่อวางบนน้ำจะใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาที น้ำจะเข้าเต็มขันและจมสู่ก้นถัง หรือขวดโหล เมื่อขันจมแสดงว่าครบยกก็จะ ตีกะเหล็ก ( เคาะเกราะ ) เป็นสัญญาณให้แยกไก่และหยุดพักยกให้น้ำ เมื่อหยุดพักยกให้น้ำก็จะจับอานวางบนน้ำใหม่จนกว่าขันจมน้ำ จึงเคาะเกราะอีกครั้งเป็นสัญญาณหมดเวลาพัก ให้เอาไก่ชน ใหม่จนกว่าไก่จะแพ้ชนะกัน การชนไก่แต่ละคู่ใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน ๑๒ อาน ( ภาคกลางเรียก ” อัน ”) อานละประมาณ ๑๐ – ๑๕ นาที บางแห่งให้พักยกให้น้ำครั้งละ ๒๐ นาที แต่มักปกติชนไม่เกิน ๗ อาน บางคู่อาจใช้เวลาเพียง ๓ - ๔ อานก็แพ้ชนะกันแล้ว ปัจจุบันบ่อนไก่ส่วนใหญ่ใช้นาฬิกาจับเวลา สำหรับบ่อนใหญ่ ๆ อาจใช้วิธีตั้งเวลาอัตโนมัติ และมีสัญญาณเสียงกริ่งเตือนเมื่อครบกำหนดเวลา

ในการ ชนไก่แต่ละคู่ นายบ่อนจะเป็นกรรมการผู้ชี้ขาด และเมื่อจะเริ่มชนในแต่ละยกนายบ่อนจะเข้าไปในสังเวียนพร้อมกับเจ้าของไก่ ทั้งสองฝ่าย เมื่อปล่อยไก่ชนกันแล้ว ทั้งหมดต้องออกจากสังเวียนทันที ขณะที่ไก่กำลังชนกันห้ามมิให้เจ้าของช่วยเหลือหรือแตะต้องตัวไก่ ไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตาม ไม่เช่นนั้นอาจถูกปรับให้แพ้ได้ ครั้นเมื่อหมดยก นายบ่อนเข้าไปจับไก่แยกออกจากกัน ในการตัดสินแพ้ชนะมักใช้หลักเกณฑ์เหมือน ๆ กัน คือหากไก่ชนตัวใดถูกตีแล้วร้อง และวิ่งหนีด้วยอาการเชิดหัวสูง ถือว่าไก่ตัวนั้นแพ้ แต่ถ้าร้องและวิ่งโดยไม่เชิดหัว ถ้าไม่หันมาสู้ กรรมการจะจับมาวางสู้ใหม่ ถ้าจับวาง ๓ ครั้งยังไม่สู้ให้ถือว่าไก่ตัวนั้นแพ้ ในทำนองเดียวกัน หากไก่ชนกันจนหมดแรง ไม่แพ้ชนะ ยืนเอาอกปะทะกันไขว้คอกันนิ่งอยู่ไม่ยอมชน เมื่อกรรมการจับแยกออกมาแล้วยังกลับเข้าไปอยู่ในท่าทางเช่นเดิมอีก ต้องตัดสินให้เสมอกัน

การพักยกให้น้ำไก่ชน
ช่วงพักยกให้น้ำ เจ้าของไก่ชนจะนำไก่ไปที่ซุ้มให้น้ำ โดยจะมีพี่เลี้ยง หรือที่ภาคกลางเรียกว่า “ มือน้ำ ” คอยช่วยซุ้มให้น้ำจะมีถังน้ำ เตาอั้งโล่ติดไฟถ่านคุแดงตลอด และจะมีแผ่นซีเมนต์หรือแผ่น เหล็กขาง หรือเหล็กหล่อ พาดวางบนปากเตา ภาษาชาวบ้านเรียก เตาจ่า เจ้าของไก่ต้องเตรียมผ้าให้น้ำไปด้วย วิธีให้น้ำก็คือ เอาผ้าจุ่มในน้ำพอเปียกหมาด ๆ แล้วเอาผ้าคลุมบนเตาจ่าร้อน ๆ ๒ – ๓ครั้ง และเช็ดพลางประคบหัวไก่ คอ ใต้ปีก หน้าอก และปั้นขาไก่ หลังจากนั้นก็เอาขนไก่ปั่นในปากและคอไก่ เอาเสลด และน้ำลายปนเลือดที่คั่งอยู่ออกรูดทิ้งเพื่อให้ไก่หายใจสะดวกขึ้น จนไก่หายใจปกติไม่มีเสลดขลุกขลักในคอ จากนั้นก็เอาผ้าชุบน้ำเย็นบีบใส่หน้าและหัวไก่ให้คลายเหนื่อย แล้วค่อยบีบน้ำหยดใส่ปากให้ไก่กิน

ในกรณีที่ไก่ชนไปหลายยกแล้วยังไม่แพ้ชนะ ไก่มักเจ็บและบอบช้ำมาก หากมีบาดแผลเพราะถูกเดือยแทง เจ้าของและพี่เลี้ยงต้องรีบเอาผ้าชุบน้ำคลุกเตาให้พอร้อน ประคบและเช็ดแผลแล้วเย็บแผลที่แตกให้ปิดสนิทโดยใช้เข็มและด้ายเย็บผ้าเย็บ ปิดแผล หากหัวไก่บวมมีเลือดคั่งต้องรับไขหัว คือใช้มีดโกนกรีดแล้วดูดหรือบีบเอาเลือดที่คั่งอยู่ออกทิ้ง แล้วเย็บแผลให้สนิท บางทีไก่ถูกตีตาบวม บูดก็ต้อง ถ่างหนังตา ด้วย การใช้เข็มเย็บร้อยเปลือกตาบนดึงขึ้นผูกติด หรือร้อยเย็บติดหงอนไว้ และร้อยเปลือกตาล่างติดกับแก้มช่วยให้ไก่มองเห็นคู่ต่อสู้ได้ หรือถ้าจะงอยปากไก่แตกหรือฉีกก็ต้องถักปากกันไม่ให้หลุด โดยทำบ่วงเงื่อนตะกุดเบ็ดรัดไว้แล้วผูกเงื่อนด้ายกับหงอนให้แน่น หลังจากที่ตกแต่งบาดแผลเสร็จ ผู้ให้น้ำต้องลองตรวจอาการไก่ชนว่าอาการดีขึ้น หรือไม่โดยบีบน้ำใส่หัวไก่ หากไก่สลัดหัวแสดงว่าอาการดีขึ้น ถ้าปล่อยลงเดินหากเดินเซต้องเอาน้ำอุ่นประคบ และดัดคอดัดปีกคลายความตึงเครียดให้ไก่พักสักครู่ โดยเอาผ้าชุบน้ำหมาดคลุมหัวไก่พักไว้ ถ้าเปิดผ้าออกปล่อยให้ไก่ลองเดินหากไก่ตีปีกและขันท้าทายแสดงว่าอาการพร้อม ชนแล้ว




การรักษาพยาบาลไก่หลังชน
เมื่อชนแพ้ - ชนะแล้ว เจ้าของต้องรีบตัดด้ายที่เย็บถ่างตาและที่ผูกจะงอยปากออกทิ้ง แล้วใช้ผ้าชุบน้ำจากกระเบื้องร้อนประคบ และเช็ดตัวให้ทั่วและเช็ดแผลให้สะอาด แล้วเอาขมิ้นฝนกับน้ำปูนแดง ทาแผลและส่วนที่บอบช้ำให้ทั่วขมิ้นกับปูนแดง จะช่วยสมานแผลให้แผลแห้งเร็ว บางคนก็อาจใช้ยาแผนปัจจุบันทาให้ไก่ชน ทุก ๆ เช้าต้องเอาน้ำอุ่นจัดประคบบริเวณใบหน้า และส่วนที่บอบช้ำหลาย ๆ ครั้งแล้วจึงทายาให้ไก่ หากไก่มีอาการซึมแสดงว่ามีไข้ต้องรีบให้ยาแก้ไข้หวัดกิน และคอยบำรุงรักษาจนกว่าอาการเป็นปกติ

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่องยาเสพติด



ความหมายของยาเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
๒. ประเภทของยาเสพติด
ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้




ฝิ่น
เอ๊กซ์ตาซี

๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.๑ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น



เฮโรอีน
ยาบ้า

๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น
๒. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๒.๑ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ
๒.๒ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
๒.๓ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
๒.๔ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้



ผสมผสาน
เห็ดขี้ควาย

๒.๕ ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
๓. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
๓.๔ ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา
๔. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ
๔.๑ ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
๔.๒ ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
๔.๓ ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
๔.๔ ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
๔.๕ ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา
๔.๖ ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
๔.๗ ประเภทใบกระท่อม
๔.๘ ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
๔.๙ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่
๓. วิธีการเสพยาเสพติด
กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
๓.๑ สอดใต้หนังตา
๓.๒ สูบ
๓.๓ ดม
๓.๔ รับประทานเข้าไป
๓.๕ อมไว้ใต้ลิ้น
๓.๖ ฉีดเข้าเหงือก
๓.๗ ฉีดเข้าเส้นเลือด
๓.๘ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
๓.๙ เหน็บทางทวารหนัก
๔. ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ได้แก่
๔.๑ ยาบ้า
๔.๒ ยาอี ยาเลิฟ หรือ เอ็กซ์ตาซี
๔.๓ ยาเค
๔.๔ โคเคน
๔.๕ เฮโรอีน
๔.๖ กัญชา
๔.๗ สารระเหย
๔.๘ แอลเอสดี
๔.๙ ฝิ่น
๔.๑๐ มอร์ฟีน
๔.๑๑ กระท่อม
๔.๑๒ เห็ดขี้ควาย
๕. สาเหตุของการติดยาเสพติด
มีหลายประการ ดังนี้คือ
๕.๑ อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยคิดว่า "ไม่ติด" แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด
๕.๒ ถูกเพื่อนชักชวน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน
๕.๓ ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด
๕.๔ ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ
๕.๕ เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด
๕.๖ ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด
๖. โทษ/พิษภัย ของยาเสพติด
การใช้ยาเสพติด มีโทษและพิษภัยรอบตัว นอกจากจะส่งผลกระทบในทางไม่ดีโดยตรงต่อตัวผู้เสพแล้ว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังครอบครัวผู้เสพ ตลอดจนเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติอีกด้วย
๗. วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด
จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้
๗.๑ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
๗.๑.๑ สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
๗.๑.๒ ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
๗.๑.๓ ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
๗.๑.๔ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
๗.๑.๕ มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
๗.๑.๖ ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
๗.๒ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก
๗.๒.๑ เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
๗.๒.๒ ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
๗.๒.๓ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
๗.๒.๔ พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
๗.๒.๕ ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
๗.๒.๖ ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
๗.๒.๔ ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
๗.๒.๕ พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
๗.๒.๖ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
๗.๒.๗ ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
๗.๒.๘ ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา
๗.๒.๙ ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย
๗.๒.๑๐ มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ
๗.๓ การสังเกตุอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
๗.๓.๑ น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
๗.๓.๒ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
๗.๓.๓ ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
๗.๓.๔ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
๗.๓.๕ ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
๗.๓.๖ มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
๗.๓.๗ เป็นตะคริว
๗.๓.๘ นอนไม่หลับ
๗.๓.๙ เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้
๘. การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย
การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน
๘.๑ การตรวจขั้นต้น : ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง สดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่
๘.๒ การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง
๙. การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น ๓ ระบบคือ
๙.๑ ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
๙.๒ ระบบต้องโทษ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม
๙.๓ ระบบบังคับบำบัด หมายถึง ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๓๔ ในสถานพยาบาลที่จัดขึ้นตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นระยะเวลา ๖ เดือน และขยายได้จนถึงไม่เกิน ๓ ปี ระบบนี้ยังไม่เปิดใช้ในขณะนี้ การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มี ๔ ขั้นตอน คือ
๙.๑ ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา (Pre - admission) เพื่อศึกษาประวัติภูมิหลังของผู้ติดยาเสพติดทั้งจากผู้ขอรับการรักษา และครอบครัว
๙.๒ ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบำบัดรักษาอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด โดยผู้ขอรับการรักษา สามารถเลือกใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน ก็ได้ตามสดวก
๙.๓ ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เป็นการบำบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยน ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ พฤติกรรม เพื่อให้รู้จักตนเอง และมีความเข้มแข็งในจิตใจ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดมีความเชื่อมั่นในการกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำอีก
๙.๔ ขั้นติดตามดูแล (After - case) เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ได้ผ่านการบำบัดครบทั้ง ๓ ขั้นตอนข้างต้นแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาและให้กำลังใจผู้เลิกยาเสพติด ให้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคมได้ยิ่งขิ้น

ความรู้เรื่องยาเสพติด

. ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้ ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้ ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ ๒. ประเภทของยาเสพติด ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
ฝิ่น
เอ๊กซ์ตาซี ๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.๑ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น
เฮโรอีน
ยาบ้า ๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น ๒. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ ๒.๑ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ ๒.๒ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน ๒.๓ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น ๒.๔ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
ผสมผสาน
เห็ดขี้ควาย ๒.๕ ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ๓. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท ๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน ๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย ๓.๔ ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา ๔. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ ๔.๑ ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน ๔.๒ ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น ๔.๓ ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้ ๔.๔ ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน ๔.๕ ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา ๔.๖ ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา ๔.๗ ประเภทใบกระท่อม ๔.๘ ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด ๔.๙ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่ ๓. วิธีการเสพยาเสพติด กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ ๓.๑ สอดใต้หนังตา ๓.๒ สูบ ๓.๓ ดม ๓.๔ รับประทานเข้าไป ๓.๕ อมไว้ใต้ลิ้น ๓.๖ ฉีดเข้าเหงือก ๓.๗ ฉีดเข้าเส้นเลือด ๓.๘ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ๓.๙ เหน็บทางทวารหนัก ๔. ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ได้แก่ ๔.๑ ยาบ้า ๔.๒ ยาอี ยาเลิฟ หรือ เอ็กซ์ตาซี ๔.๓ ยาเค ๔.๔ โคเคน ๔.๕ เฮโรอีน ๔.๖ กัญชา ๔.๗ สารระเหย ๔.๘ แอลเอสดี ๔.๙ ฝิ่น ๔.๑๐ มอร์ฟีน ๔.๑๑ กระท่อม ๔.๑๒ เห็ดขี้ควาย ๕. สาเหตุของการติดยาเสพติด มีหลายประการ ดังนี้คือ ๕.๑ อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยคิดว่า "ไม่ติด" แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด ๕.๒ ถูกเพื่อนชักชวน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน ๕.๓ ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด ๕.๔ ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ ๕.๕ เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด ๕.๖ ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด ๖. โทษ/พิษภัย ของยาเสพติด การใช้ยาเสพติด มีโทษและพิษภัยรอบตัว นอกจากจะส่งผลกระทบในทางไม่ดีโดยตรงต่อตัวผู้เสพแล้ว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังครอบครัวผู้เสพ ตลอดจนเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติอีกด้วย ๗. วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้ ๗.๑ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก ๗.๑.๑ สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ๗.๑.๒ ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก ๗.๑.๓ ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ ๗.๑.๔ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง ๗.๑.๕ มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน ๗.๑.๖ ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย ๗.๒ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก ๗.๒.๑ เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล ๗.๒.๒ ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ๗.๒.๓ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ๗.๒.๔ พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง ๗.๒.๕ ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ ๗.๒.๖ ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ ๗.๒.๔ ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย ๗.๒.๕ พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว ๗.๒.๖ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด ๗.๒.๗ ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ ๗.๒.๘ ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา ๗.๒.๙ ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย ๗.๒.๑๐ มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ ๗.๓ การสังเกตุอาการขาดยา ดังต่อไปนี้ ๗.๓.๑ น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย ๗.๓.๒ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด ๗.๓.๓ ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ ๗.๓.๔ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก ๗.๓.๕ ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด ๗.๓.๖ มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง ๗.๓.๗ เป็นตะคริว ๗.๓.๘ นอนไม่หลับ ๗.๓.๙ เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้ ๘. การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน ๘.๑ การตรวจขั้นต้น : ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง สดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่ ๘.๒ การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง ๙. การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น ๓ ระบบคือ ๙.๑ ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน ๙.๒ ระบบต้องโทษ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม ๙.๓ ระบบบังคับบำบัด หมายถึง ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๓๔ ในสถานพยาบาลที่จัดขึ้นตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นระยะเวลา ๖ เดือน และขยายได้จนถึงไม่เกิน ๓ ปี ระบบนี้ยังไม่เปิดใช้ในขณะนี้ การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มี ๔ ขั้นตอน คือ ๙.๑ ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา (Pre - admission) เพื่อศึกษาประวัติภูมิหลังของผู้ติดยาเสพติดทั้งจากผู้ขอรับการรักษา และครอบครัว ๙.๒ ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบำบัดรักษาอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด โดยผู้ขอรับการรักษา สามารถเลือกใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน ก็ได้ตามสดวก ๙.๓ ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เป็นการบำบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยน ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ พฤติกรรม เพื่อให้รู้จักตนเอง และมีความเข้มแข็งในจิตใจ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดมีความเชื่อมั่นในการกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำอีก ๙.๔ ขั้นติดตามดูแล (After - case) เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ได้ผ่านการบำบัดครบทั้ง ๓ ขั้นตอนข้างต้นแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาและให้กำลังใจผู้เลิกยาเสพติด ให้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคมได้ยิ่งขิ้น